องค์การเกษตรในอนาคตแห่งประเทศไทย (อกท.) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี The Future Farmers of Thailand Organization Under The Royal Partronage of H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn โดย ว่าที่ ร.ต. อดิศักดิ์ แชดอน อกท. คืออะไร
อกท. ย่อมาจาก องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ตรงกับภาษาอังกฤษ Future Farmers of Thailand (FFT.) คือองค์การวิชาชีพเกษตร เป็นองค์การของนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาเกษตร ผู้ซึ่งจะเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ของประเทศไทย องค์การนี้นำรูปแบบมาจากองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (FFA.) หลักการ อกท. "เป็น องค์การของสมาชิก ดำเนินการโดยสมาชิก เพื่อสมาชิก โดยมีคณะกรรมการอำนวยการ อกท. แต่ละระดับ ให้คำแนะนำ สนับสนุนและกำกับดูแล"
วัตถุประสงค์ของ อกท. 1. เพื่อพัฒนาคุณภาพและความเป็นเลิศทางวิชาชีพของสมาชิก 2. เพื่อพัฒนาให้สมาชิกมีลักษณะความเป็นผู้นำ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข 3. เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกเป็นพลเมืองดี ตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อกท. มีความสำคัญต่อการจัดการอาชีวศึกษาเกษตรและการพัฒนาประเทศอย่างไร อกท. เป็นกิจกรรมหลักที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นยุทธศาสตร์หรือเป็น เครื่องมืออย่างหนึ่งที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กรมอาชีวศึกษาเดิม) ใช้เป็นสื่อในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และบุคลากรของสถาบัน สังกัดกองวิทยาลัยเกษตรกรรม(เดิม) และสถานศึกษาสังกัดอื่นที่มีหน่วย อกท.ตั้งอยู่ กิจกรรมนี้มุ่งเน้นให้สมาชิกเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Learning by doing) ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student Center) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกได้พัฒนาความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ รู้จักการทำงานร่วมกัน มีความขยัน อดทน ฝึกความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ตลอดจนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยยึดหลักการขององค์การที่ว่า "เป็นองค์การของสมาชิก ดำเนินงานโดยสมาชิก เพื่อสมาชิก" มีครู อาจารย์เป็นที่ปรึกษา แนะนำ และกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด
โดยที่ประเทศไทย มีฐานการพัฒนาประเทศมาจากอาชีพเกษตรกรรมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทั้งผลผลิตที่เป็นวัตถุดิบ และที่แปรรูปแล้ว ใช้บริโภคและสามารถส่งจำหน่ายเป็นอาหารเลี้ยงพลโลก หรืออาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยสามารถเป็นธนาคารหรือครัวของโลก (Food Bank) ได้ อีกทั้งมีศักยภาพเพียงพอในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในโลกยุคไร้พรมแดน และสามารถใช้ความรู้และเทคโนโลยีเป็นฐานในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ สอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวย่อมต้องใช้กำลังคนภาคเกษตรที่จะต้องเป็นเกษตรกรรุ่น ใหม่ที่มีความรู้ มีความสามารถในการจัดการ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ดังนั้นเกษตรกรรุ่นใหม่จึงจะมีบทบาทสำคัญในการนำพาการเกษตรของชาติให้ก้าว หน้าและพัฒนาไปอย่างมั่งคน ซึ่งภารกิจในการจัดเตรียมกำลังคนอาชีวะเกษตรรุ่นใหม่เพื่อทดแทนเกษตรกรรุ่น เก่านี้อยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษาอาชีวะเกษตร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการ
ในการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพเกษตรทั้งในและนอกสถานศึกษาจะมุ่งเน้นการ ปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ ทักษะ ความชำนาญ และกิจนิสัยที่ดี การประเมินผลการเรียนจะประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) มีกระบวนการประเมินคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพตามเกณฑ์ที่กำหนดและนอกจากนั้น ยังมีการประกันการมีงานทำ สู่อาชีพอิสระ ที่สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นเถ้าแก่ได้ในอนาคต เพราะการเรียนรู้มิได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น เราสามารถบูรณาการการเรียนการสอนจากสภาพการณ์ที่เป็นจริงในสังคมได้อย่างกลม กลืน ถือเป็นฐานความรู้และแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการจัดอาชีวศึกษาแนวใหม่ เป็นการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการบริการสังคม
|